SUPONG Massage

Medical Software Therapy Theory

the different idea of pain therapy



ทำอิริยาบถบางท่าไม่ได้จะปวดและจำกัด ( Pain-Limit Disability )

อาการที่ไม่สามารถทำอิริยาบถบางท่าได้จะปวดและจำกัด ( Pain-Limit Disability ) เป็น "สัญญาณเตือนภัย" เกิดจากโปรแกรมการทำงานที่ไม่เหมาะสม อาจเกิดขึ้นในทันทีในเหตุการณ์ของการทำผิดพลาดท่าในการทำงานหรือยกของหนัก เสียหลัก ลื่นล้ม ข้อเท้าพลิก หรือกระทบกระแทก หรืออาจไปเกิดอาการในภายหลังอาจจะวันถัดไปหรืออีกหลายวันถัดไป ในครั้งแรกที่เกิดได้ทำอิริยาบถบางท่าแล้วเกิดอาการปวดรุนแรง เช่น บางคนเกิดขณะกำลังลุกลงจากเตียงในตอนเช้าก็เกิดอาการปวดหลังอย่างรุนแรงจนไม่สามารถลุกลงจากเตียงได้ อาจเสียเวลานานกว่าที่อาการปวดจะเบาลงในขนาดที่พอจะฝืนทนขยับตัวลุกลงจากเตียงได้ บางคนอาจจะเกิดอาการปวดหลังอย่างรุนแรงขณะกำลังก้มยกของหนัก ไม่ใช่ภาวะของโรคหรือการบาดเจ็บ แต่มักจะเป็นกันเรื้อรังเพราะรักษาไม่ถูกวิธี โดยไปเชื่อการแพทย์แผนปัจจุบันว่าเป็นกล้ามเนื้อหรือเอ็นอักเสบ กินยาแก้อักเสบยาวนานเป็นเดือนๆ บางคนกินยาจนเป็นแผลในกระเพาะอาหาร บางรายถูกฉีดยาสะเตียรอยด์แก้อักเสบจนเนื้อเยื่อเสียหายเอ็นขาด บางรายเชื่อหมอนวดที่นวดตรงที่ปวดจนระบมถึงจับไข้ก็มี บางรายเชื่อการดึงกระดูก ( Chiropractic ) ดึงจนเกิดอาการผิดปกติอย่างอื่นเพิ่มเติม

สาเหตุที่เกิดเข้าใจว่ามีการสะสมความตึงเครียดในกล้ามเนื้อบางกล้ามเนื้อ ( Accumulative Strain ) อยู่ก่อนแล้ว พอมาทำงานที่หนักหรือกระทันหัน ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในโปรแกรมการทำงานนั้น จึงเปิดสัญญาณเตือนภัย

เนื่องจาก "การแพทย์แผนปัจจุบัน" เป็นทฤษฎีการแพทย์ทาง Hardware Therapy จะมีมุมมองเป็น "การบาดเจ็บ" หรือ "การอักเสบ" ทั้งๆที่ไม่มีอาการบวมแดงร้อนของการอักเสบแต่อย่างใด ถ้าปวดที่กล้ามเนื้อจะบอกว่าเป็น "กล้ามเนื้ออักเสบ" ถ้าปวดที่บริเวณติดกระดูกจะบอกว่าเป็น "เอ็นอักเสบ" ถ้าปวดบริเวณข้อจะบอกว่าเป็น "ข้ออักเสบ" ให้กิน "ยาแก้อักเสบ" ( Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drug ) ในการกินยาเม็ดแรกๆจะรู้สึกว่าอาการปวดมันลดลงมาได้ระดับหนึ่ง แต่ยาเม็ดต่อๆไปรู้สึกว่ามันจะไม่ได้ผลคืบหน้าเท่าที่ควร บางคนอาจจะกินยายาวนานเป็นเดือนๆก็ไม่หายขาดแต่อย่างใด กลายเป็น "อาการปวดเรื้อรัง" ซึ่งอาจอยู่ยาวนานเป็นปีๆ สิบๆปี หรือตลอดชีวิตเลยทีเดียว

ความหมายของการอักเสบ ( Inflammation ) เป็นเหตุการณ์จริงที่จะมีโลหิตและเม็ดโลหิตขาวเข้ามายังที่เกิดเหตุจำนวนมากซึ่งจะเกิดอาการปวดบวมแดงร้อน แต่ "อาการปวด" นี้จะไม่มีอาการบวมแดงร้อน และการรักษาไม่ได้กระทำตรงที่ปวดด้วย

ปัญหาพบได้ทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า อาการนิดหน่อยจนถึงเดินไม่ได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

นิ้วกลางเจ็บมือหมุนเปิดฝาขวดไม่ได้

ผู้ป่วยขี่จักรยาน เกิดเหตุหยุดรถกระทันหันแล้วล้ม พบว่านิ้วกลางมือขวาเจ็บแล้วไม่หาย ไปหาแพทย์แผนปัจจุบันตรวจรักษา ไม่พบความเสียหายของกระดูกหรือเอ็น เป็นมากว่า 3 ปีแล้ว ปัญหาที่ยังรบกวนผู้ป่วยอยู่คือ ไม่สามารถใช้มือหมุนเปิดฝาขวดได้ กำมือไม่เจ็บ แต่ขยับนิ้วกลางด้านข้างจะเจ็บ

นวดกดจุดเพียงชั่วครู่ ก็ให้ทดสอบการขยับนิ้ว สามารถใช้มือหมุนเปิดฝาขวดได้เป็นปกติ

ปัญหาลักษณะนี้ เรียกว่า "อาการไม่สามารถทำท่าทางหนึ่งได้สุดจะปวด" ( Pain-Limit Disability ) เป็นปัญหาทางโปรแกรมการทำงานไม่เหมาะสมของกล้ามเนื้อขณะเกิดอุบัติเหตุ เกิดการ "เปิดสัญญาณเตือนภัย" จะมี "จุดกดเจ็บ" ในกล้ามเนื้อ ซึ่งเมื่อนวดกดจุดเจ็บนี้ จะเป็นการ "ปิดสวิทช์" สัญญาณเตือนภัยที่จะทำให้อาการไม่สามารถขยับนิ้วกลางด้านข้างได้จะเจ็บและตัวสวิทช์นั้นหายไปได้

"การแพทย์แผนปัจจุบัน" จะแก้ปัญหานี้โดยการให้กิน "ยาแก้อักเสบ" ( Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drug ) แม้ว่าจะตรวจไม่พบ "อาการบวมแดงร้อน" ของการอักเสบ ( Inflammation ) เลย เพราะเป็นทฤษฎีการแพทย์ของความเข้าใจ "ชีวิตร่างกายของคนเราแบบเครื่องจักรกลทางชีวเคมีธรรมดา" ความเจ็บปวดจะเป็นปัญหาของการบาดเจ็บ ( Hardware Problem ) ซึ่งอาจจะเป็นที่กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือกระดูก อาจมีการเอ็กซเรย์เพื่อให้เห็นปัญหาของกระดูกแตกหัก ยาที่มีใช้ในการแก้ปัญหาลักษณะนี้ของ "การแพทย์แผนปัจจุบัน" จะเป็น "ยาแก้ปวด" ( Analgesic ) "ยาแก้อักเสบ" ซึ่งมี 2 ประเภท คือ ยาที่เป็นสะเตียรอยด์ กับยาที่ไม่ใช่สะเตียรอยด์ และ "ยาคลายกล้ามเนื้อ" ( Muscle Relaxant )

ผู้ป่วยรายนี้ก็กินยารักษานานเป็นเดือน เมื่อไม่หายจึงหยุดกินยาเพราะเริ่มกลัวอันตรายของยามากกว่าปัญหาความเจ็บปวดที่เป็นอยู่

ผมเข้าใจว่า คงมีคนป่วยที่มีอาการไม่สามารถทำอิริยาบถบางท่าได้จะปวดอยู่มากมาย แทบจะทุกบ้าน ทุกที่ทำงาน ส่วนใหญ่ยังคงเชื่ออยู่ใน "การแพทย์แผนปัจจุบัน" แม้จะรักษานานแล้วไม่หายหรือเป็นๆหายๆ บางส่วนจะแสวงหาการรักษาทางการแพทย์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม การดึงกระดูก ( Chiropractic ) การกดจุดแบบจีน การนวดแผนไทย เป็นต้น ซึ่งก็มีบางรายที่ผ่านการรักษามาหลายการแพทย์นานแล้วไม่หายเช่นกัน

 


Solunic

Menu